ThaiLoveLines.com Join Free Check out ThaiLoveLines.com. English Spanish Deutsch Francais Nederlands ไทย Join for FREE!
คู่มือผู้ใช้ ผู้ใช้ออนไลน์ FAQ วิธีการทำงานความสำเร็จ เข้าร่วมฟรี ติดต่อเรา บอกเพื่อน

ผู้หญิงไทยให้ความรักทำงานทั้งสองด้านของวัฒนธรรมแบ่ง

Sunday 21st December 2014 12:07am

ผู้หญิงไทยกับการแต่งงานกับชาวต่างชาติจัดการเรื่องความแตกต่างด้านวัฒนธรรมระหว่างประเทศไทยและตะวันตก

การค้นคว้าชั้นนำโดยสถาบันวิชาการในยุโรปและในสิงคโปร์ ได้เปิดเผยเรื่องราวเบื้องลึกของการที่ผู้หญิงไทยนำเอาวัฒนธรรมที่ตรงข้ามกันเข้ามาผนวกไว้ด้วยกันได้อย่างประสบความสำเร็จ เพื่อสร้างการแต่งงานและชีวิตร่วมกันที่มีความสุข

ผู้หญิงไทยรายหนึ่งเดินทางกับน้องชายของเธอที่มาจากกรุงเทพในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์หนึ่งของเดือนสิงหาคม เธอชื่ออารียา อายุ 39 ปีและแต่งงานกับผู้ชายชาวสิงคโปร์ เมื่ออยู่ที่ประเทศสิงคโปร์นั้น เธอเป็นภรรยาที่มีงานบ้านล้นมือและเป็นคู่ชีวิตที่ทำงานอย่างหนัก เธอช่วยดูแลจัดการงานในบ้านและเป็นลูกสะใภ้ที่ดูแลแม่สามีเป็นอย่างดี แต่ในวันหยุดสุดสัปดาห์นี้ เธอกำลังมุ่งหน้าไปภาคอีสาน เพื่อพาน้องชายของเธอกลับไปที่บ้านเกิดและเยี่ยมเยือน ‘คุณแม่’ แท้ๆ ของเธอเอง

‘สามีของฉันเคยเจอแม่ของฉันแค่ครั้งเดียวเท่านั้น’ เธอกล่าว ในระหว่างการพบกันของลูกเขยและแม่ยายในประเทศไทย มันเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่ฝ่ายชายจะต้องแสดงความเคารพในรูปแบบของ การให้ของกำนัลเป็นเงินทอง แต่สำหรับอารียาแล้วมันดูเหมือนจะไม่ใช่เช่นนั้น ‘ฉันต้องให้เงินกับแม่ของฉันหลังจากนั้น และอธิบายให้ท่านฟังว่าสามีของฉันไม่เข้าใจธรรมเนียมแบบนี้’ เหตุการณ์นี้ช่วยชี้ให้เห็นถึง ธรรมเนียมปฏิบัติที่แตกต่างกันระหว่างวัฒนธรรมไทยของอารียาซึ่งให้ความสำคัญกับญาติทางฝ่ายหญิง และวัฒนธรรมไทยแบบขงจื๊อ ที่ให้ความสำคัญต่อหัวหน้าครอบครัวตามแนวทางของสามีของเธอ

‘เรื่องเดียวกันนี้ต่างเกิดขึ้นจริงกับผู้หญิงไทยที่ใช้ชีวิตในประเทศแถบตะวันตกและในยุโรป ฉันได้อ่านข้อมูลค้นคว้าชิ้นหนึ่งเมื่อไม่นานมานี้ซึ่งให้ตัวอย่างในเรื่องเดียวกัน ปรากฏว่าผู้หญิงไทยนั้นกำลังช่วยกัน สร้างสะพานข้ามระยะห่างห่างระหว่างความแตกต่างทางวัฒนธรรม เพื่อรักษาครอบครัวทั้งสองฝ่ายให้มีความสุข ผู้หญิงเหล่านี้สมควรได้รับการยกย่องเป็นอย่างมาก’ คาร์ลา บุญคง นักเขียนแมกกาซีนกล่าวถึงหัวข้อนี้

วัฒนธรรมไทยกระตุ้นให้ผู้หญิงไทยมองหาสามีชาวต่างชาติ

ตามธรรมเนียมดั้งเดิมแล้ว ฝ่ายชายจะต้องออกไปค้นหาความมั่งคั่งร่ำรวยด้วยตนเองตั้งแต่อายุยังน้อย และในเรื่องจริงนั้นทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสานที่ซึ่งผู้หญิงไทยจำนวนมาก แต่งงานกับชาวต่างชาตินั้น เป็นสังคมแบบให้ความสำคัญต่อครอบครัวฝ่ายหญิง ทรัพย์สินและอำนาจทางครอบครัวถูกส่งผ่านทางฝ่ายหญิง และโดยปกติ ลูกสาวมักจะถูกคาดหวังให้เป็นลูกชายมากกว่า ในทางกลับกัน เพื่อสิทธิในการรับมรดกที่มากขึ้น ผู้หญิงไทยถูกคาดหวังให้ต้องดูแลบิดามารดาและครอบครัวของตน(เป็นบุญคุณ) ผู้ชายไทยได้รับการกระตุ้นให้ออกไปตามหาโชคชะตาของตนและค้นหาความมั่งคั่งร่ำรวย ก่อนที่จะลงหลักปักฐานกับภรรยาสักคนภายในครอบครัวขยายของฝ่ายหญิง วัฒนธรรมไทยในเรื่องสินสอดนั้นมีพื้นฐานมาตั้งแต่สมัยโบราณ มันเป็นของกำนัลทางการเงินจากสามีคนใหม่ให้แก่ครอบครัวของภรรยา เพื่อแสดงว่าเขาผู้นั้นมีแหล่งเงินทองเพื่อช่วยให้ชีวิตสมรสประสบความสำเร็จได้ ในศตวรรษนี้และโดยเฉพาะ 50 ปีที่ผ่านมาความเป็นอุตสาหกรรมของประเทศไทยได้สื่อว่าเป็นผู้หญิงไทยมากกว่าที่ ‘ออกไปผจญโลก’ แต่พวกเธอทำเช่นนั้นด้วยจิตวิญญาณที่จะดูแลครอบครัวของเธอตามธรรมเนียมที่ถือฝ่ายหญิงเป็นสำคัญ

' ในปัจจุบัน วัฒนธรรมนี้ได้ปรับเข้ากับสามีชาวต่างชาติที่มาจากนอกประเทศผู้ซึ่งขอผู้หญิงชาวไทยแต่งงาน ‘แน่นอนว่ามันคือปรากฏการณ์ที่น่าสนใจทีเดียว และมันมีความหลากหลายและถูกปรับแต่งให้เหมาะกับ ยุคสมัยใหม่ ยกตัวอย่างเช่น ผู้หญิงไทยคนหนึ่งอาจจะไม่รับมรดกในตอนนี้ทันที ครอบครัวได้ช่วยให้เธอได้รับการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย โดยที่ลูกชายอาจได้รับมรดกถ้าพวกเขาได้แต่งงานกับผู้หญิงที่ด้อยโอกาสกว่า และในจุดกึ่งกลาง เรื่องราวทั้งหมดนี้คือการย้ายถิ่นครั้งใหญ่ไปยังเมืองใหญ่และกรุงเทพ ที่ซึ่งมีโครงสร้างแบบยึดฝ่ายชายเป็นสำคัญในครอบครัวที่มั่งคั่ง แต่วัฒนธรรมในเรื่องบุญคุณนั้นยังคงยึดถือกันอยู่เป็นอย่างมาก ตามจริงแล้วมันได้เกิดการปรับและหลากหลายขึ้นโดยครอบครัวที่ยากจนกว่าจากภาคอีสาน ฉันมีความเคารพต่อเรื่องนี้เป็นอย่างมาก’ คาร์ลา บุญคงกล่าว ‘แน่นอนว่ามันเป็นการสอดประสานที่มุมมองแบบตะวันตก ของผู้หญิงไทยจากอีสานในฐานะที่เป็นผู้หญิงที่อ่อนแอ ผู้ซึ่งพลิกตนเองเข้าสู่ชีวิตแห่งการเป็นหญิงค้าประเวณี มันเป็นเรื่องจริง อย่างไรก็ตาม แม้แต่ในสมัยนี้ การถดถอยทางเศรษฐกิจได้บีบให้คนจำนวนมาก เดินเข้าสู่อุตสาหกรรมทางเพศและการค้าแรงงานค่าแรงต่ำ แต่ผู้หญิงไทยเหล่านี้กลับไม่ได้มองตนเองว่าได้ตกเป็นเหยื่อแต่อย่างใด’

ผู้ชายชาวต่างชาติสามารถสร้างความพึงพอใจแก่วัฒนธรรมการแต่งงานแบบไทยได้อย่างไร

ปัจจุบันนี้ สามีของเมียฝรั่ง (ผู้หญิงไทยที่มีสามีเป็นชาวต่างชาติ) เป็นผู้ที่ช่วยหนุนวัฒนธรรมไทยสมัยเก่า การวิจัยตั้งแต่ปี 2004 ในจังหวัดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยแสดงให้เห็นถึง ความก้าวหน้าในหมู่ของผู้หญิงไทยและสังคมแบบขยายในการแต่งงานแบบนี้ ‘มันมหัศจรรย์มาก ตอนนี้ผู้นำชุมชนหรือแม้กระทั่งคนไทยที่มีอายุมากให้การสนับสนุนอย่างเปิดกว้างต่อชีวิตสมรสเช่นนี้’ คาร์ลา บุญคงกล่าว ปัจจุบันนี้เมียฝรั่งสามารถพาสามีชาวต่างชาติของเธอมาเข้าร่วมวัฒนธรรมไทยแท้ภายในครอบครัวได้ ในฐานะที่เป็นผู้สนับสนุนทางการเงินของครอบครัวชาวไทยแบบขยาย

ปัจจัยทางวัฒนธรรมที่กำลังขับเคลื่อนให้ผู้หญิงไทยก้าวเข้าสู่การแต่งงานกับชาวต่างชาติ

การศึกษาถึงค่านิยมที่กำลังเติบโตขึ้นของผู้หญิงไทยที่แต่งงานกับสามีชาวต่างชาติได้ระบุถึงแรงกระตุ้นทางวัฒนธรรมอื่นๆ อีกมากมายที่กำลังขับเคลื่อนให้ผู้หญิงไทยเดินเข้าสู่การแต่งงานกับชาวต่างชาติ:

  • เช่นเดียวกับในสังคมอื่นๆ มันเป็นเรื่องปกติสำหรับผู้หญิงที่ต้องการ “แต่งงานเพื่อยกระดับตนเองขึ้น” แน่นอนว่านี่คือคุณภาพที่เป็นปกติวิสัยที่กำลังขับเคลื่อนผู้หญิงที่ประสบความสำเร็จทางเศรษฐกิจในต่างประเทศ และในประเทศที่พัฒนาแล้วไปสู่การไม่แต่งงานหรือมองหาการแต่งงานกับคู่ชีวิตที่คู่ควรมากกว่า ในการศึกษาวิจัยในประเทศอังกฤษและเบลเยี่ยมค้นพบว่า ผู้ชายจำนวนมากที่มองหาภรรยาชาวไทยนั้น จะมีพื้นฐานความปลอดภัยทางการเงินที่น้อยกว่า ซึ่งบ่อยครั้งจะเกี่ยวเนื่องกันกับการขาดการศึกษาด้วย ที่น่าสนใจคือ กลุ่มนักธุรกิจชายที่เดินทางบ่อยและผู้ที่ทำงานอยู่ในงานบริการนานาชาติ ก็เข้ามาเป็นหนึ่งในส่วนนี้ด้วยเช่นกัน แรงขับทางอินเตอร์เน็ตและแรงขับทางเศรษฐกิจในปัจจุบันนี้ได้เปิดโอกาสในเรื่องแนวความคิดของการมีสามีชาวต่างชาติต่อผู้หญิงไทยซึ่งกำลังมองหาสามีเพื่อเข้าเป็นส่วนหนึ่ง ในครอบครัวที่ให้ความสำคัญแก่ญาติทางฝ่ายหญิงแบบไทยแท้ นอกเหนือไปจากนั้น การเพิ่มขึ้นของเวลาว่างและระดับการศึกษาในประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับผู้หญิงไทยได้เพิ่มจำนวนของผู้หญิงไทยที่อยู่เป็นโสด เพื่อรอการแต่งงานกับคู่ครองที่เหมาะสมกับตนเองมากขึ้นอีกด้วย
  • ตามประเพณีปฏิบัติแล้ว ผู้ชายไทยมักจะมองหาภรรยาหรือคู่ครองที่เป็นสาวบริสุทธิ์และไม่เคยผ่านการใช้ชีวิตร่วมกับชายใดมาก่อน ความล้มเหลวของการแต่งงานและความกดดันทางเศรษฐกิจ ได้เพิ่มจำนวนการเลิกรามากขึ้นในประเทศไทยเช่นเดียวกับในส่วนอื่นของโลก ผู้หญิงที่ผ่านการหย่าร้างที่สืบเนื่องมาจากผลของความล้มเหลวนั้นได้สร้างส่วนที่สำคัญของประชากรของผู้หญิงไทยที่มองหาสามีชาวต่างชาติ 'นี่เป็นกรณีเฉพาะที่ซึ่งผู้หญิงจะมีระดับของการศึกษาที่สูงกว่า’ คาร์ลา บุญคง กล่าว ‘เกือบทั้งหมดของผู้ชายไทยจะไม่คำนึงถึงความสัมพันธ์กับผู้หญิงในสถานการณ์เช่นนี้ และยิ่งจะไม่นึกถึงมากขึ้นถ้าเธอผู้นั้น ผ่านการแต่งงานหรือมีลูกมาแล้ว'

ผู้หญิงไทยในประเทศสิงคโปร์วิ่งเข้าสู่ความขัดแย้งกับหลักลัทธิแบบขงจื๊อ

อารียา ผู้หญิงไทยจากภาคอีสานผู้ซึ่งแต่งงานกับชายชาวสิงคโปร์ได้ใช้ชีวิตอยู่ในสิงคโปร์เป็นเวลา 7 ปีแล้ว ถึงแม้ว่าที่สิงคโปร์จะมีมุมมองในแง่บวกต่อผู้หญิงไทย แต่เธอก็พบเจอผู้หญิงไทยมากมาย ที่ล้มเลิกชีวิตแต่งงานในสิงคโปร์เนื่องมาจากเรื่องของความแตกต่างทางวัฒนธรรม 'ฉันโชคดีที่ครอบครัวของสามีใจดีกับฉัน และฉันเองก็สามารถทำงานหนักได้ แต่เพื่อนๆ ฉันหลายคนพบว่ามันยากที่จะใช้ชีวิต อยู่ในประเทศสิงคโปร์’ เธอกล่าว ปัญหาที่เธอเปิดเผยนั้นคือ สำหรับผู้หญิงไทยในสิงคโปร์แล้ว พวกเธอเกิดความรู้สึกขมขื่นต่อหน้าที่ที่พวกเธอมีต่อครอบครัวคนไทยของพวกเธอเอง ‘สำหรับผู้หญิงไทยมากมายนั้น การไม่สามารถดูแลมารดาและครอบครัวของเธอในประเทศไทยได้ถือว่าเป็นความกดดันอย่างมาก มันทำให้พวกเธอรู้สึกต่ำต้อยและสูญเสียกำลังใจอย่างแท้จริง'

นี่เป็นสาเหตุว่าทำไมอารียาจึงกลับมายังประเทศไทยปีละสองครั้งเพื่อมาดูแลแม่และครอบครัวขยายของเธอ ‘ฉันชอบให้สามีมาด้วยกันอย่างน้อยปีละครั้ง และให้เขาแสดงว่าเขาเป็นสามีที่ดีของฉัน ฉันอธิบายให้เขาฟังว่า ถ้าหากไม่ทำเช่นนั้น เขาและฉันจะเสียหน้ามาก ตอนนี้เขาสนุกกับการมาเที่ยวประเทศไทยและนั่นทำให้ชีวิตแต่งงานของเราเข้มแข็งขึ้นด้วย’ เธอกล่าว แต่อารียาชดเชยให้สามีชาวสิงคโปร์ของเธอ และเธอทำทุกอย่างที่เธอควรทำเมื่ออยู่ในสิงคโปร์ มันเป็นความสามารถเช่นนี้ที่จะสร้างสะพานเชื่อมระหว่างสองวัฒนธรรมที่ผู้วิจัยมากมายต่างประทับใจ นี่คือกุญแจสำคัญที่ค้นพบในการศึกษาค้นคว้าของเรื่องราวผู้หญิงไทย ที่แต่งงานกับผู้ชายชาวดัตช์และใช้ชีวิตอยู่ในประเทศเนเธอร์แลนด์ที่ตีพิมพ์เมื่อปี 2012 โดยสถาบันทางวิชาการสองแห่ง และที่ถูกมองเห็นในเรื่องราวมากมายของผู้หญิงไทยที่มีสามีชาวต่างชาติ

สินสอด – บ่อยครั้งที่ถูกละเว้นไว้แต่เป็นธรรมเนียมประเพณีของการแต่งงานที่แท้จริง

มันเป็นเรื่องปกติในกลุ่มผู้หญิงไทยอายุน้อยและชาวต่างชาติในประเทศไทย (ฝรั่ง) ที่จะยกเว้นกรอบแนวความคิดของสินสอด หรือการให้เงินทองหรือของขวัญแก่ครอบครัวของผู้หญิงไทยในการแต่งงาน ชาวต่างชาติจำนวนมากที่ใช้ชีวิตอยู่ในประเทศไทยอ้างว่าธรรมเนียมปฏิบัตินี้ได้หล่นหายไปจากการกระทำจริงแล้ว หรือไม่มีการนำมาใช้อีกต่อไป ด้วยความพัฒนาในขั้นสูงของประเทศไทยที่มีความทันสมัย และเจริญก้าวหน้ามากขึ้น

‘จุดยืนของสิ่งเหล่านี้มันมีเหตุมีผล’ คาร์ลา บุญคงกล่าว ‘แน่นอนว่าวัฒนธรรมในประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงไปเนื่องมาจากความเป็นอุตสาหกรรมมากขึ้น และผู้หญิงเองก็มีอิสระมากขึ้นด้วย’ แต่นี่เป็นส่วนหนึ่งของธรรมเนียมปฏิบัติแบบพุทธของไทยซึ่งให้โอกาสในการปรับสิ่งนี้สำหรับผู้หญิงไทยเช่นกัน อินเตอร์เน็ตได้เปิดทัศนคติแบบใหม่ทั้งหมดให้กับผู้หญิงไทย ผู้ซึ่งสามารถออนไลน์และแชท และส่งอีเมล์เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่มีอยู่จริงกับชายชาวต่างชาติ แต่ในเบื้องลึกนั้น มีการฝังลึกลงไปในจิตใจของผู้หญิงไทยในหน้าที่ที่มีต่อครอบครัวของพวกเธอ สำหรับบางคนนั้น นี่เป็นการดูแลครอบครัว แม้ว่าทุกคนจะแตกต่างกัน แต่มันชัดเจนว่ามีความต้องการอย่างแท้จริงและเฉพาะตัวสำหรับผู้หญิงไทยที่ใช้ชีวิตในต่างแดน เพื่อทำให้ความสัมพันธ์และการแต่งงานของพวกเธอนั้นถูกต้องตามกฎหมายที่บ้านเกิด ในประเทศไทยของพวกเธอด้วย สินสอดเป็นหนึ่งในวิธีการทำเช่นนี้และเป็นการสร้างความเคารพสำหรับเจ้าบ่าวที่จะต้องมีหากต้องการแต่งงานเข้าสู่ครอบครัวคนไทย

ผู้หญิงไทยใช้ชีวิตในเนเธอร์แลนด์และสินสอด

เบญจวรรณเป็นผู้หญิงไทยคนหนึ่งที่อาศัยอยู่ใกล้กับเมืองอาร์เนมในเนเธอร์แลนด์ เธอใช้ชีวิตอยู่ในเนเธอร์แลนด์มากว่า 3 ปีและทำงานอยู่ในร้านขายชาในท้องถิ่น สามีของเธอทำงานเป็นวิศวกรไฟฟ้า เบญจวรรณพบกับ Niek คู่ชีวิตชาวดัตช์ของเธอทางออนไลน์ และเดินทางไปยังประเทศเนเธอร์แลนด์ซึ่งเธอแต่งงานกับสามีของเธอหลังจากใช้ชีวิตร่วมกันเป็นเวลา 12 เดือน ความสัมพันธ์ของพวกเขา ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก: ‘สามีของฉันได้เงินดีเพราะว่าเขาสามารถทำงานบนเรือได้ เขาเดินทางบ่อยแต่มันก็ดีมากเมื่อเขาได้กลับมาบ้าน’ เธอหัวเราะ

เบญจวรรณส่งเงินจำนวนเล็กน้อยกลับมายังหมู่บ้านของเธอในจังหวัดกาฬสินธุ์ของประเทศไทย และกลับมาเมืองไทยพร้อมกับสามีอยู่เรื่อยๆ เพื่อเยี่ยมครอบครัวของเธอ แต่ในปีที่แล้วมีปัญหาเกิดขึ้นเล็กน้อย: ‘แม่กับพ่อของฉันถามบ่อยมากว่าเมื่อไรเราจะจัดงานแต่งงานกันที่เมืองไทย นี่เป็นวิถีปฏิบัติแบบไทยและพ่อของฉันก็ป่วยด้วย เมื่อฉันบอกสามีก็ดูเหมือนว่าเขาจะไม่เข้าใจเรื่องนี้ เขาบอกว่าเราได้แต่งงานกันแล้ว ในเนเธอร์แลนด์ เขาก็เลยคิดว่ามันไม่จำเป็นหรือดูจะเป็นการไม่ซื่อตรงนักที่จะจัดงานแต่งงานเพื่อเอาเงินของเขา ฉันเองก็เสียใจที่เรื่องเกิดเป็นแบบนี้’ เธอกล่าว

เบญจวรรณจำเป็นต้องอธิบายให้สามีของเธอฟังว่าเขาจะต้องไปเยี่ยมพ่อแม่ของเธอด้วยกัน และแสดงว่าเขาเป็นสามี ‘ที่ดี’ ตามวัฒนธรรมในหมู่บ้านของเธอ นี่หมายถึงการจ่ายเงินให้กับครอบครัวของเธอ รวมถึงเครื่องเพชรพลอย และจัดงานเลี้ยงให้กับครอบครัว, เพื่อนบ้าน และแขกด้วย Niek (สามีชาวดัตช์ของผู้หญิงไทย)รู้สึกโกรธในครั้งแรกที่ได้ยินเรื่องนี้ เนื่องจากดูเหมือนเขาจะพิจารณาการร้องขอนี้ว่า เป็นความฟุ่มเฟือยเกินเหตุเพราะเขาทั้งคู่ได้แต่งงานกันตามกฎหมายในเนเธอร์แลนด์แล้ว และนี่เป็นวิธีหนึ่งที่จะบังคับให้เขาต้องจ่ายเงินให้แก่ครอบครัวของผู้หญิงไทยให้ได้ สิ่งนี้ยังเพิ่มความสงสัยให้แก่เขาเพิ่มขึ้นด้วย ‘สามีของฉันพูดเรื่องกฎหมายและก็ใช่นะ เราได้แต่งงานกันตามกฎหมายแล้วในประเทศเนเธอร์แลนด์ แต่ไม่ใช่ในประเทศไทย’ เธอกล่าว

การแต่งงานสองครั้งในประเทศไทย

สุดท้าย Niek ก็ยอมทำตาม หลังจากที่เกิดเหตุการณ์ตึงเครียดขึ้นกับภรรยาของเขาสองถึงสามครั้ง ‘เขายอมทำตามก็เมื่อเขาเห็นว่าฉันบริสุทธิ์ใจจริงๆ และมันสำคัญมากสำหรับฉันที่เขาเห็นด้วยกับเรื่องนี้ ต่อมาเราก็เริ่มวางแผนกัน’ เธอกล่าว เพื่อนคนหนึ่งของเบญจวรรณจากประเทศไทยให้คำแนะนำว่า เนื่องจากเบญจวรรณเคยแต่งงานมาก่อน และได้ไปใช้ชีวิตอยู่กับ Niek เป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว ดังนั้นค่าสินสอดจึงควรลดน้อยลง พวกเขาตกลงกันว่า Niek จะซื้อทองให้กับแม่ของเบญจวรรณ, จ่ายเงินค่างานเลี้ยง และให้เงินจำนวน 50,000 แก่ครอบครัวของเธอซึ่งพวกเขาจะคืนให้หลังจบงานเลี้ยง แต่ Niek เปลี่ยนใจในวันงานแต่งงานและยืนยันที่จะให้เงินก้อนนั้นแก่แม่ของเบญจวรรณในท้ายที่สุด

‘ฉันคิดว่าสามีของฉันสามารถมองเห็นได้ว่าเรื่องนี้มันส่งผลอย่างไรต่อแม่และพ่อของฉัน ครอบครัวของฉันเป็นคนดีและซื่อสัตย์ เมื่อเขาปฏิเสธที่จะรับเงินคืนและให้เงินก้อนนั้นกับแม่ของฉัน เธอก็แปลกใจมากและดีใจมากด้วย นี่แสดงว่าเขาเป็นสามีดีที่แท้จริง’ เธอกล่าว

หลังจากงานเลี้ยง เบญจวรรณและ Niek ก็ไปที่ว่าการอำเภอและทำการจดทะเบียนสมรสกันในประเทศไทย ‘เราเตรียมเอกสารต่างๆ มาครบถ้วนก่อนจะเดินทางมายังประเทศไทย และนักกฎหมายท้องถิ่นได้ทำการจัดการนั้น’ เธอกล่าว ตอนนี้ทั้งคู่ได้แต่งงานกันแล้วถึงสามครั้ง! แต่สำหรับเบญจวรรณแล้ว งานเลี้ยงที่หมู่บ้านของเธอและของอภินันทนาการที่ให้กับแม่และพ่อของเธอนั้น ถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด

‘สามีของฉันเป็นผู้ชายที่ดี และเราก็มีความสุขด้วยกันก่อนหน้านี้ แต่ตอนนี้ฉันรู้สึกว่าเราได้ทำทุกอย่างให้ถูกต้องแล้ว’ เธอกล่าว เบญจวรรณไม่เหมือนกับผู้หญิงไทยหลายคนที่ใช้ชีวิตอยู่ในเนเธอร์แลนด์ มีผู้หญิงไทยมากมายที่อาศัยอยู่ในยุโรปที่ใจจดใจจ่อรอคอยงานแต่งงานและการประกาศความสัมพันธ์ของพวกเธอที่บ้านเกิดในประเทศไทย และผู้หญิงอีกหลายคนที่พยายามอย่างหนักเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ใกล้เคียงกัน

‘รายงานพิเศษในเรื่องของผู้หญิงไทยที่อาศัยอยู่ในยุโรปและเนเธอร์แลนด์เปิดเผยว่า พวกเธอถูกวางไว้ในตำแหน่งที่เป็นเอกลักษณ์ในจุดกึ่งกลางระหว่างสองวัฒนธรรม ผู้หญิงไทยจำนวนมากที่อยู่ในเนเธอร์แลนด์ เคยมีสามีหรือคู่รักมาก่อน และส่วนมากก็มีลูก ดังนั้นพวกเธอจึงมีการกระทำที่เป็นสมดุล สำหรับผู้หญิงชาวไทยที่อายุน้อยกว่าจะยังคงมีหน้าที่ต่อครอบครัวของพวกเธอในประเทศไทย และไม่เพียงแต่ต้องติดต่อ กับครอบครัวอยู่เสมอเท่านั้น พวกเธอยังต้องเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว และบ่อยครั้งก็ต้องรับผิดชอบในเรื่องความช่วยเหลือทางการเงินอีกด้วย’ คาร์ลากล่าว 'ครอบครัวชาวไทยและวัฒนธรรมไทยนั้น เกี่ยวพันกันอย่างใกล้ชิด มันคือวัฒนธรรมของความห่วงใยและการตอบแทนกัน คือการดูแลซึ่งกันและกัน ฉันคิดว่านี่เป็นบางสิ่งที่มีพลังมากและสำคัญเป็นอย่างยิ่งแก่ครอบครัวคนไทย โดยเฉพาะกับคนที่มีฐานะทางครอบครัวที่ดีน้อยกว่า’

ความแตกต่างในวัฒนธรรมระหว่างประเทศไทยและประเทศเนเธอร์แลนด์

ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นประเทศในยุโรปซึ่งสังเกตเห็นได้ถึงการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างใหญ่หลวงตั้งแต่ยุค 60s เป็นต้นมา มีความปลอดภัยทางสังคมในระดับสูง และความสัมพันธ์ก็ถูกพิจารณา ให้เป็นสิทธิพิเศษของแต่ละบุคคลโดยมีพื้นฐานมาจากความรักระหว่างคนทั้งสอง ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นหนึ่งในชาติที่พัฒนาแล้วที่สุดชาติหนึ่งของโลกแตกต่างจากประเทศไทย ในที่ซึ่งสัดส่วนขนาดใหญ่ของประชากรใช้ชีวิตด้วยรายได้ในระดับต่ำมากในต่างจังหวัดโดยที่มีสวัสดิการน้อยมากหรือไม่มีเลย

' ครอบครัวเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับคนไทยที่ใช้ชีวิตอยู่ในระดับที่ต่ำที่สุดของสังคม’ คาร์ลากล่าว ‘การวิจัยได้แสดงว่าในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยในที่ซึ่งผู้หญิงไทยจำนวนมาก แต่งงานกับชาวชาวดัตช์นั้น ได้มีการคำนึงถึงผู้หญิงในการเป็นหัวใจสำคัญของการอยู่รอดของครอบครัวและความมั่งคั่งทางวัตถุของครอบครัวนั้น ความรับผิดชอบนี้ถูกวางไว้กับผู้หญิงชาวไทย’ เธอกล่าว ‘ผู้หญิงไทยที่ถูกบังคับให้เข้าสู่วงจรการค้าประเวณีหรือทำงานหนักยาวนานหลายชั่วโมงในโรงงานนั้นทำเพื่อครอบครัว วัฒนธรรมของพวกเธอบอกพวกเธอให้มองหาสามีหรือคู่ครองที่สามารถช่วยเหลือพวกเธอ และครอบครัวได้ ฉันคิดว่ามันเป็นเรื่องที่ดีมาก แต่มันก็อาจนำไปสู่ความตึงเครียดในความสัมพันธ์ระหว่างผู้หญิงไทยและคู่ครองชาวยุโรปได้ การค้นคว้าเมื่อเร็วๆ นี้ได้เน้นให้เห็นว่า นี่ไม่เพียงแต่เกิดขึ้นในเนเธอร์แลนด์เท่านั้น แต่ในอังกฤษ, สิงคโปร์ และประเทศแถบยุโรปก็พบปัญหานี้อีกมากมายด้วยเช่นกัน’

กฎหมายและการแต่งงาน – ความเข้าใจของผู้หญิงไทย

เรื่องราวของสินสอดและความสำคัญของวัฒนธรรมไทยยังเน้นให้เห็นความสำคัญของรากฐานอื่นอีกด้วย บ่อยครั้งที่ผู้หญิงไทยจะไม่ตระหนักถึงกรอบงานทางด้านกฎหมาย และเส้นทางที่ควรต้องปฏิบัติตาม เมื่อพบปะหรือมองหาคู่ครองชาวต่างชาติ

‘มันตลกดี แต่มันก็ยังแสดงว่าผู้หญิงไทยมากมายนั้นอ่อนต่อโลกและมีความปรารถนาดีเมื่อเข้าสู่ความสัมพันธ์กับชาวต่างชาติหรือ ‘ฝรั่ง’ เธอกล่าว ‘หลายคนไม่เห็นค่าว่าการสนับสนุนในช่วงวิกฤติ หรือความปลอดภัยสำหรับความเป็นอยู่ที่ดีของพวกเธอเองนั้นเป็นสิทธิตามกฎหมายของการแต่งงานในประเทศบ้านเกิดของชาวต่างชาติ’ เธอกล่าว อัตราการหย่าร้างระหว่างผู้หญิงไทยและคู่แต่งงานชาวยุโรปในปัจจุบันนี้ อยู่ที่ประมาณ 23% อยู่ต่ำกว่าครึ่งหนึ่งของระดับการแต่งงานภายในประเทศ ยิ่งไปกว่านั้น ศาลในประเทศอังกฤษและประเทศในยุโรปอื่นๆ แสดงถึงความเห็นอกเห็นใจน้อยมากต่อผู้หญิงชาวไทย ที่ความสัมพันธ์ต้องล้มเหลวในระยะแรก แม้ว่าจะไม่มีการใช้ความรุนแรงใดๆ เลยก็ตาม แต่นี่ก็ไม่ใช่ประเด็น คาร์ลากล่าว ‘ส่วนมากแล้วผู้หญิงไทยที่มองหาคู่ครองชาวต่างชาตินั้นจริงใจเหมือนกับในความสัมพันธ์ทั้งหมด บางครั้งแม้มันจะไม่ประสบความสำเร็จแต่ผู้หญิงไทยก็จะพยายามมากขึ้น ฉันคิดว่าพวกเธอทำเช่นนั้นก็เพื่อให้แน่ใจว่ามันจะไม่เกิดขึ้นอีก บางครั้งเกิดความตึงเครียดในความสัมพันธ์ เมื่อผู้หญิงไทยไม่ได้คิดเพียงแต่ความสุขของตนเองและสามี แต่ไปนึกถึงครอบครัวของเธอที่เมืองไทยมากเกินไป แต่เมื่อมองลงไปในเรื่องนี้ลึกๆ เหมือนที่ฉันรู้ว่าผู้ชายชาวต่างชาติหลายคนทำ สิ่งนี้มันแสดงให้เห็นถึงธรรมชาติที่ดีของพวกเธอ’ คาร์ลา บุญคงกล่าว

การทำความเข้าใจถึงความแตกต่างอย่างลึกซึ้งในวัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมต่างชาติ

สามีชาวดัตช์ของเบญจวรรณอธิบายเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี ‘ผมไม่เห็นด้วยกับการแต่งงานอีกครั้งหนึ่งในเมืองไทย ผมสงสัยว่ามันเป็นเรื่องเงินทองเท่านั้นที่สำคัญ และมันก็เป็นเรื่องจริงที่คุณเองก็รู้ดี ผมโกรธบ่อยๆ ในตอนนั้น แต่เมื่อตอนที่ผมอยู่ในประเทศไทย ผมได้สังเกตเห็นจากภรรยาของผมว่ามันเป็นเรื่องของความภาคภูมิใจ ผมจึงเข้าใจมันอย่างถ่องแท้’ นี่เป็นสาเหตุที่ Niek เห็นด้วยที่จะให้แม่ของเบญจวรรณ เก็บสินสอดไว้โดยไม่ต้องให้คืน

คาร์ลา บุญคงมีมุมมองอีกอย่างหนึ่ง ‘ฉันเพิ่งคุยกับผู้หญิงไทยคนหนึ่งที่มีลูกสองคน เธอแต่งงานกับชาวต่างชาติและใช้ชีวิตอยู่ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เธอบอกฉันว่าเมื่อเธอแต่งงานนั้น เธอไม่รู้เลยว่าเด็กเกิดขึ้นมาได้อย่างไร เธอตกใจมากและไม่เคยเตรียมพร้อมในเรื่องเพศสัมพันธ์มาก่อน’ เธอกล่าว

Carla กล่าวว่าชาวต่างชาติมากมายเข้าใจไปเองว่าส่วนอื่นของโลกนั้นมีความคล้ายกันกับประเทศในฝั่งตะวันตกทั้งหมด ที่ซึ่งตั้งแต่ปี 1960s เป็นตันมาได้มีการปฏิวัติทางสังคม ที่มุ่งเน้นในเรื่องสิทธิและความสัมพันธ์ของแต่ละบุคคล เธอชี้ให้เห็นว่าสังคมในยุโรปมากมายเมื่อ 100 ปีที่แล้วมีมุมมองของอะไรที่ยังเป็นจริงในระดับที่ต่ำกว่าและขัดสนของสังคมไทย ‘แน่นอนว่ามีความแตกต่างทางด้านศาสนาด้วย ฉันคิดว่าผู้คนส่วนใหญ่ไม่ได้เตรียมตัวเพื่อยอมรับกับความเป็นจริงในการปิดกั้นสังคมไทยแก่ชาวต่างชาติแม้ว่าใน 30 ถึง 40 ปีที่แล้วก็ตาม’ เธอกล่าว

ในประเทศไทย วัฒนธรรมไทยเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตจริงสำหรับผู้หญิงไทย

คาร์ลายังได้อธิบายด้วยว่าสังคมไทยนั้นเข้มแข็งมาก เนื่องจากมันคือชีวิตและการทำงานเพื่อครอบครัวคนไทยมากมาย ‘ วัฒนธรรมไทยคือบางอย่างที่แท้จริงและเป็นประโยชน์มากแก่คนไทยที่ยากจนกว่า ชาวต่างชาติที่แต่งงานกับผู้หญิงไทยไม่ควรจะลืมว่าความคิดนี้ถูกสร้างขึ้นมาได้อย่างไรในสมองของผู้หญิงไทย และมันก็ยังเป็นวัฒนธรรมที่ดีอีกประการหนึ่งด้วย’ เธอกล่าว ในอีกทางหนึ่งมันมีความยืดหยุ่น และปัจจัยที่ทำให้เกิดขึ้นจริงได้ในธรรมเนียมของชาวไทยพุทธ ซึ่งได้พิสูจน์ถึงความมีคุณค่าแก่ผู้หญิงไทยที่เชื่อมต่อความแตกต่างระหว่างประเทศไทยและประเทศต่างชาติอื่นๆ เช่น สิงคโปร์ ‘ผู้หญิงไทยหลายคนเรียนรู้แนวความคิดใหม่จากประเทศในแถบตะวันตก’ เธอกล่าว

. เบญจวรรณสรุปสิ่งนี้ด้วยการอธิบาย: ‘ชีวิตในประเทศฮอลแลนด์ถือว่าดี แต่ผู้คนที่นั่นทำงานหนักและพวกเขาก็จะทำในสิ่งที่พวกเขาพูด ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนสำคัญ ฉันคิดว่ามันดีนะ บางครั้งมันง่ายมากในเมืองไทย ที่จะสูญเสียกำลังใจและนั่งรอให้สิ่งต่างๆ มันดีขึ้น ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้ในต่างประเทศ นี่เป็นสาเหตุว่าทำไมฉันถึงชอบวัฒนธรรมของฝรั่งด้วยเหมือนกัน’ เธอกล่าว

ThaiLoveLines.com เป็นเว็บไซต์อินเทอร์เน็ตที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยเดท เรามีกว่า 355,000 คนและเรากำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว...,
เริ่มต้นการค้นหาสำหรับแฟนสามีของคุณหรือความรักที่

ผู้หญิงไทยจัดการความขัดแย้งระหว่างวัฒนธรรมระหว่างครอบครัวในประเทศไทยและสามีชาวต่างชาติ
รายงานชิ้นใหม่ในยุโรปและสิงคโปร์เกี่ยวกับผู้หญิงไทยที่มีสามีชาวต่างชาตินั้น แสดงให้เห็นถึงวิธีที่พวกเธอใช้ในการจัดการระยะห่างระหว่างวัฒนธรรมของสามีชาวต่างชาติและครอบครัวที่บ้านในประเทศไทยทั้งหมดด้วยความรัก
เริ่มต้นการค้นหาของคุณในเว็บไซต์หาคู่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ThaiLoveLines.com. เริ่มต้น ด้วยการดูที่ของเรา ห้องแสดงภาพผู้ชาย
สมัครเป็นสมาชิกฟร


ทรัพยากรอื่น ๆ ที่คุณอาจเข้าชม: